คุณหมอจะต้องมีเงินทุนเท่าไหร่ ? ในการเริ่มต้นจะเปิดคลินิกเวชกรรม
แล้วเราจะต้องใช้เงินประมานเท่าไหร่ ?

การ “ใช้เงิน” คือการ “บริหารเงิน”
- เราจะบริหารเงินอย่างไร ให้เงินแต่ละบาทเกิดความคุ้มค่ามากที่สุด
- เราจะทำอย่างไรถ้าเรามีเงินทุนที่จำกัด
- เราจะใช้เงินของคนอื่นมาช่วยลงทันได้ไหม ? (เช่น กู้ธนาคาร)
- เทคนิคทางการเงินรูปแบบอื่น ๆ ที่จะช่วยรักษาสภาพคล่องของการเงินเรา ทำอย่างไรได้บ้าง
ผมคิดว่าหัวข้อนี้สำคัญมาก และเป็นเรื่องที่ทำให้เราปวดหัวและเครียดที่สุดเรื่องหนึ่ง ถ้าต้องการให้ผมสอนหัวข้อการเงินและการจัดการทางด้านการเงินเพื่อวางแผนเปิดคลินิกผมคิดว่าต้องใช้เวลาสัก 1 วันเต็ม
บทความนี้ผมจะเอาเนื้อหาสำคัญสำหรับมือใหม่มาปูพื้นให้พอเข้าใจกันก่อนนะครับ
การบริหารจัดการเงินทุนมีสอง 2 ช่วงคือ
- ช่วงก่อนเปิดคลินิก
- ช่วงที่เปิดคลินิกไปแล้ว
Phase ก่อนเปิดคลินิก
ช่วงนี้จะต้องคำนวณให้ขาดว่าก่อนเปิดคลินิกเรามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ในส่วนนี้เรียกว่า “เงินลงทุน”
- ค่าตบแต่งคลินิก โดยทั่วไปในการรับเหมาก่อสร้าง เขียนแบบสำหรับคลินิกขนาด 1 ห้องแถวและตบแต่ง 2 ชั้น มีค่าใช้จ่ายคร่าว ๆ ที่ 1.5-2.5 ล้านบาท (รวมเฟอร์นิเจอร์ และแอร์) ทั้งนี้คุณหมอสามารถประหยัดได้ด้วยการไม่ทำเฟอร์นเจอร์บิ้วอิน ไม่ใช้เฟอร์นิเจอร์หรู และลดการกรุผนังออก ถ้าออกแบบให้ประหยัดสุด ๆ จะมาสามารถคุมงบประมานได้ที่ 1 ล้านบาท หรือ ต่ำกว่าได้ ส่วนในกรณีที่คุณหมอต้องการเล่นห้องผ่าตัดก็ย่อมมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเข้ามา
- อุปกรณ์แพทย์ เป็นค่าใช้จ่ายที่หนักหนาพอสมควร เครื่อง Laser ทันสมัยมักมีราคาแพง งบประมานในส่วนนี้ควรมีเตรียมไว้อย่างน้อย 1 ล้านบาทในส่วนของคลินิกเวชกรรมที่เน้นด้านความงาม รูปหน้า ผิวหนัง แต่ถ้าคุณหมอเปิดเป็นคลินิกที่เน้นทำงานเฉพาะทาง เช่น งานผ่าตัด ก็จะใช้อุปกรณ์ที่ต่างออกไปตามแต่หัตถการที่เน้น
การเปิดคลินิกควรมีเงินทุนตั้งต้นประมาน 3 ล้านบาทสำหรับคลินิกขนาดเล็ก ถ้าคุณหมอมีเงินก้อน มีเงินเก็บในส่วนนี้คงไม่มีปัญหาใด ๆ แต่ถ้าคุณหมอกู้ธนาคารมา ย่อมแปลว่าคุณหมอกำลังเอาภาระทางการเงินที่จะต้องผ่อนธนาคารใน Pahse นี้ไปไว้ใน Phase ต่อไป
Phase เปิดคลินิกไปแล้ว
เมื่อคุณหมอเริ่มทำการคลินิกไปแล้ว จะพบค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับเงินลงทุน แต่จะเป็นค่าใช้จ่ายที่เรียกว่า “ค่าใช้จ่ายคงที่ (Fixed cost) ” และ “ค่าใช้จ่ายผันแปร (Variable cost)” ถึงรวมผมจะเรียกว่า “ค่าใช้จ่ายประจำเดือน”
ผมขอยก 2 ตัวอย่างให้เห็นภาพ นะครับ

สมมุตคุณหมอไปเปิดคลินิกในห้างสรรสินค้า และมีค่าเช่าสูงถึงเดือนละ 300,000 บาท
จากตัวอย่าง A เราจะพบว่ามีค่าใช้จ่ายต่อเดือนสูงถึง 477,000 บาท หรือตกเฉลี่ยวันละ 15,900 บาท
อันหมายความว่า คุณหมอจะค่าใช้จ่ายทุกวัน วันละ 15,900 บาท (กรณีเปิด 30 วันต่อเดือน) สิ่งนี้เป็นภาระทางค่าใช้จ่ายที่อนาคตคุณหมอจะต้องหารายรับ (คนไข้มาซื้อบริการ) ให้ได้อย่างต่ำวันละ 15,900 บาท เพื่อจะพ้นขาดทุนในแต่ละวัน
คุณหมอจึงมีเพียงสองหนทางในการทำให้พ้นขาดทุนทางบัญชี คือ
- ลดต้นทุนให้ตำ่ลง
- หรือเพิ่มรายรับให้มาชนะต้นทุนที่มีอยู่

ตัวอย่าง B โจทย์นี้เบากว่า A คือคุณหมอมีภาระเป็นค่าเช่าสถานที่น้อยลงเพราะไปเปิดในตึกแถว 1 คูหาค่าเช่า 40,000 บาทต่อเดือน ลูกน้องก็ใช้น้อยลง จะพบว่ามีภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือน 202,000 บาท หรือ 6,733 บาทต่อวัน
จะเห็นชัดเจนว่าภาระทางการเงินจะเครียดน้อยลงเยอะ และถ้าคุณหมอรับราชการอยู่และเปิดคลินิกเพียงตอนเย็นก็อาจจะยังพอไปได้เพราะรายจ่ายไม่ส^งมากนัก
ตรงกันข้ามกับกรณีที่คุณหมอมีรายจ่ายสูงตามโจทย์ A คุณหมอจะต้องวิ่งรอบหาเงินมาเติมให้พ้นขาดทุน
สรุป
การวางแผนทางการเงินเป็นเรื่องที่ละเอียดมีทั้ง Phase ก่อนเปิดคลินิกและ Phase หลังจากเปิดคลินิกไปแล้ว
แต่ไม่ว่าส่วนใดคุณหมอมีหน้าที่จะต้องรักษา “สภาพคล่อง” ไว้ให้ได้
และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการตลาดให้คลินิกเอาชนะรายรับในแต่ละเดือน (Break even) มิเช่นนั้นจะกลายเป็นคลินิกที่เปิดไปแล้วขาดทุน ต้องควักเนื้อเอาเงินเก็บ เงินเดือน เงินของครอบครัวมาถมไปอย่างไม่มีจุดสิ้นสุด
เพราะธุรกิจคลินิกเวชกรรม มีรายจ่ายทุกวัน สม่ำเสมอ ถ้าคุณหมอไม่สามารถเอาชนะรายจ่ายได้ย่อมไม่ประสบความสำเร็จในการดำเนินสถานพายาล
เป็นกำลังใจให้ทุกท่านครับ
สวัสดีครับ
หมอมด (ทพ.อภิชาติ ลีนานุรักษ์)

สารบัญ
1.การวางแผนธุรกิจ (คลินิกเวชกรรม , คลินิกเวชกรรมความงาม , คลินิกเฉพาะทางเวชกรรม)